Returning the ashes - siamfuneral

S I A M F U N E R A L
S I A M F U N E R A L
   Phone number : (662) 902 7907
  Email : siamfuneral@gmail.com , varavut@siamfuneral.com

SIAMFUNERAL
Go to content
S I A M F U N E R A L


บทบาทของผู้จัดการงานศพในงาน Palliative care
Palliative care ในความหมายของภาษาไทยคือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง แท้จริงแล้วรวมไปถึงเมื่อผู้ป่วยได้เสียชีวิตลง และรวมถึงการดูแลญาติหรือครอบครัวของผู้ป่วยตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการดูแลแบบประคับประคองจนกระทั่งเสียชีวิต และการดูแลหลังความตาย (Bereavement)
นอกจากนี้ยังมีคำต่างๆที่อยู่ในกลุ่มความหมายใกล้เคียงกันคือ   end of life care, terminal care, hospice care supportive care องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้ให้คำจำกัดความไว้โดยแบ่งตามระยะเวลาที่จะมีชีวิตจนกระทั่งเสียชีวิต ตามกลุ่มอาการของโรคที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วย ระดับการดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด รวมถึงการดูแลญาติผู้ป่วย ดังนั้น Palliative care จึงอยู่ในคำจำกัดความของกลุ่มคำเหล่านี้ด้วย
Palliative care การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมุ่งดูแลในด้าน ร่างกาย physical จิตใจ emotional สังคม social และจิตวิญญาณ spiritual needs งานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองส่วนใหญ่จึงอยู่ในความรับผิดชอบของ พยาบาลวิชาชีพ หมอ เจ้าหน้าที่สาธรสุข ผู้ซึ่งได้ผ่านการอบรม Palliative care
บทบาทในส่วนของผู้จัดการงานศพซึ่งอาจขอนำเสนอในงาน Palliative care คือการดูแลสภาวะจิตใจ ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ ทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งส่วนซึ่งผู้จัดการงานศพอาจช่วยแบ่งเบาจากผู้รับผิดชอบหลัก การดูแลด้านจิตใจและสังคมอาจหมายถึง บุคลิกลักษณะ ความสนใจ งานอดิเรก ศาสนา อาชีพ ครอบครัว ความเชื่อ ความสัมพันธ์กับบุคคล การดูแลด้านจิตวิญญาณอาจรวมถึง ความตาย ความรัก คุณค่าของชีวิต การให้อภัย ความเข้าใจในชีวิต ความเชื่อเฉพาะทางศาสนา สิ่งสำคัญสูงสุดของชีวิต การได้ให้โอกาสผู้จัดงานศพเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยหรือญาติที่อยู่ในภาวะยอมรับได้กับความตาย ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้พูดถึงสิ่งต่างๆในทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยเฉพาะเรื่องการจัดพิธีศพ ความปรารถนาเรื่องการแต่งกาย ดอกไม้ รูปแบบหีบศพ พิธีทางศาสนา นอกจากนั้นผู้จัดงานศพยังสามารถนำข้อมูลต่างๆมาประมวลผลเพื่อให้เกิด Funeral Design ออกแบบงานศพที่สามารถสะท้อนภาพชีวิตทั้งหมดตามความปรารถนาของผู้ป่วย สิ่งต่างๆเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญและแบ่งเบาความทุกข์ความกังวลของตัวผู้ป่วยเองและญาติ
นอกจากนั้นการดูแลจิตสังคมและจิตวิญญาณในแง่ของทางศาสนา สามารถสรุปได้ว่าทุกศาสนาต่างมุ่งหวังให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับความสุขสบายทางใจ พ้นจากทุกข์ ทุกศาสนาถือว่าความตายคือเรื่องที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มิใช่ความทุกข์ และเชื่อว่าการดูแลจากญาติสนิทในวาระสุดท้ายจะช่วยบรรเทาความทุกข์และสามารถประกอบพิธีการตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง ในด้านของจิตวิญญาณความหมายแท้จริงแล้วสามารถแตกต่างออกไปได้อย่างมากมายแล้วแต่บุคคล ไม่จำเป็นเฉพาะในเรื่องศาสนา สำหรับคนหนึ่งศาสนาคือใช่หรือคือแค่ส่วนหนึ่ง สำหรับบางคนอาจไม่ใช่เลย ขึ้นอยู่กับอะไรคือความสำคัญสูงสุดของชีวิต ตัวอย่างเช่น การใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนสนิท การเดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติ หน้าที่การงาน งานอดิเรก
 
จิตวิญญาณอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในชั่วอายุไข ซึ่งในแนวทางของ Palliative care การดูแลด้านจิตวิญญาณ ในสภาวะ end of life หรือ terminal illness ของผู้ป่วย ความคิดเรื่องความตาย ความสูญเสีย ความโศกเศร้า  มักจะเข้ามาแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในชีวิต บางคนอยากแสดงออกและมุ่งคิดถึงความหมายของชีวิตที่ผ่านมา บางคนศาสนากลับกลายมาเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั่นในฐานะผู้จัดการงานศพการประเมินความต้องการด้านจิตวิญญาณจึงมีความสำคัญมากให้ส่วนงาน Palliative care
 
การเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ป่วยในวาระสุดท้าย terminal illness หรือครอบครัวผู้สูญเสีย ถือเป็นเรื่องยากและจำเป็นต้องได้รับมาฝึกฝนมาอย่างดี นอกจากนั้นยังต้องอาศัยประสบการณ์ ความทุกข์ในเรื่องจิตวิญญาณมักเกิดขึ้นจากสาเหตุเช่น ความเจ็บปวดทางร่างกาย การไม่สามารถหาแหล่งคำตอบของความหมายของชีวิต ของความหวัง ของความรัก ของความสงบ ของความเข้าใจในชีวิต สิ่งเหล่านี้นอกจากสร้างความเจ็บปวดทางใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้ว ยังสร้างความทุกข์ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย อาการทั่วไปที่สามารถพบได้ อาทิ ปฏิเสธการรักษา ปฏิเสธการดูแล เก็บตัว กลัว กังวล เกิดคำถามอาทิ ทำไมถึงเกิดขึ้นกับฉัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ฉันเป็นใคร ฉันจะถูกจดจำอย่างไร
ผู้จัดการงานศพจะสามารถเข้าถึงและตีความ ความต้องการในด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือของครอบครัวผู้สูญเสียได้อย่างไร การสนับสนุนให้พูดถึงความรู้สึกออกมา ตอนนี้รู้สึกอย่างไร เริ่มต้นบทสนทนา ตัวอย่าง เรื่องความหวัง
อะไรคือสิ่งยึดเหนี่ยวของความหวัง ความแข็งแกร่ง ความสบาย ความสงบ ? ประกอบพิธีทางศาสนา มีความเชื่อและความศรัทธาเรื่องอะไรบ้าง ? และสิ่งนั้นสำคัญอย่างไร บางกรณีผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่สามารถเข้าใจความหมายของ จิตวิญญาณ ว่ามีความหมายต่อเขาอย่างไร การใช้คำถามง่ายๆ คือ “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาเหล่านั้น จริงๆ?
บางกรณีผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความปรารถนาอย่างมากที่จะเล่า พูดคุย เกี่ยวกับจิตวิญญาณของตน สนับสนุนให้เขาเหล่านั้นพูดถึงความกังวล ความกลัว และฟังโดยไม่มีการตัดสินว่าผิดหรือถูก พยายามทำความเข้าใจในความเชื่อโดยปราศจากอคติส่วนตัว ถ้าผู้จัดการงานศพไม่สามารถรับมือกับบทสนทนาได้ด้วยตนเอง อาจนำผู้มีประสบการณ์ หรือผู้นำทางความเชื่อของผู้ป่วยเหล่านั้นเข้าร่วมด้วย การดูแลเรื่องจิตวิญญาณแท้จริงแล้วมีความซับซ้อนมากในแต่ละบุคคล คำถามต่างๆในเรื่องเหล่านี้นั้น จริงแล้วไม่ได้ต้องการเพียงแค่คำตอบ ดังนั้นจึงไม่ควรปรารถนาที่จะได้คำตอบ การรับฟัง ความสนใจ การอยู่ ณ ตรงนั้นกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย นั้นคือที่สำคัญที่สุด

ผู้จัดการงานศพ นอกจากงานรับผิดชอบเรื่องเอกสารตามกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต ภาพรวมของพิธี Funeral Theme จัดหาหีบศพ จัดการเรื่องดอกไม้ตกแต่ง พิธีการทางศาสนา ตามความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว  อีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือ การเตรียมร่างผู้เสียชีวิต Presentation and Preservation  ประเทศไทยตามธรรมเนียมจะมี พิธีรดน้ำศพ เพื่อให้ญาติ ครอบครัวและบรรดาเพื่อนๆ ได้แสดงความเคารพด้วยการรดน้ำที่มือของผู้เสียชีวิต ผู้จัดการงานศพต้องสามารถให้สัญญากับผู้ป่วยและครอบครัวถึงเรื่องการจัดเตรียมร่างด้วยความเคารพ ให้เกียรติกับร่างของผู้เสียชีวิต และคงสภาพร่างให้เหมาะสมในพิธีรดน้ำศพ Presentation รวมถึงระยะวัน-เวลาของพิธีการทางศาสนา Preservation
การฉีดยาศพ Embalming ด้วยเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ Embalmer จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้จัดการงานศพจะต้องพิจารณาและรับผิดชอบในงาน Palliative care

ข้อพิจารณาในการฉีดยาศพ
Presentation สภาพศพดูธรรมชาติที่สุดเหมือนคนนอนหลับ ไม่มีคราบของเหลวออกจากร่างศพ ผิวพรรณสะอาดสดใสชุ่มชื้นไม่ดำคล้ำ ร่างศพยังมีความยืดหยุ่นกระชับแต่ไม่แข็งกระด้าง มือที่รดน้ำไม่ซีดเหี่ยวหรือดำคล้ำ การแต่งหน้าทำได้อย่างง่ายดายตามความประสงค์ของผู้เสียชีวิตหรือของญาติ ไม่มีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์รบกวนผู้มาร่วมพิธีรวมถึงกลิ่นน้ำยาฟอร์มาลีน
Preservation ความสามารถในการคงสภาพของร่างไม่เกิดภาวะย่อยสลาย Decomposition ได้ตามความประสงค์ของครอบครัวและของผู้เสียชีวิต ตามระยะเวลาของพิธีการทางศาสนา หรือการเก็บร่าง100วัน หรือ1 ปี ตามความเชื่อของครอบครัว
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่างานจัดการร่างของผู้เสียชีวิตจำต้องใช้ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ประสบการณ์ สถานที่ อุปกรณ์ที่ทันสมัย การบริหารจัดการที่เหมาะสม
บทสรุปบทบาทของผู้จัดการงานศพ Funeral Director ในงาน Palliative care ควรเข้ามามีส่วนร่วมในระยะ Terminal illness ของผู้ป่วย ทั้งในสถานพยาบาล Community Care Nursing home หรือที่บ้านของผู้ป่วย เพื่อช่วยสนับสนุน ตีความหมายในเรื่อง จิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ บรรเทาคลายความกังวลของครอบครัว มีส่วนร่วมในการเสนอแนะออกแบบงานศพเพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ตามความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อมูลเพิ่มเติม การจัดการห้องฉีดยาศพในโรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุข Embalmer

Contact Us
Phone : (662) 902 7907
Fax : (662) 902 7906
Mobile : (6686) 777 0214
Siam Funeral Co.,Ltd
30/21 Village No.6
Klongsi Subdristrict , Klongluang District ,
Pathumthani Province.
12120, Thailand.
siamfuneral@gmail.com
varavut@siamfuneral.com

©Copyright 2020 Siam Funeral Company All Rights Reserved
Back to content